วัน จันทร์ ที่ 15 เดือน มกราคม ปี 2561 เวลาเรียน 8:30 - 11:30น.
เนื้อหาที่เรียน
1.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
- ทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม
- ทักษะด้านความรู้
- ทักษะทางปัญญา
- ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
- ทักษะการจัดการเรียนรู้
2.วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
3.รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของแต่ละโรงเรียนที่นักศึกษาได้ไปสังเกตการสอน
- การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนตามความสนใจ ความสามารถ
และความต้องการ โดยการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียน
ทั้งทางด้านสติปัญญา(Cognitive) ทักษะ (Skill) และจิตใจ (Affective) สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole
Language Approach) คือ
การที่เด็กได้เรียนรู้การใช้ภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียนไปตามธรรมชาติ
อย่างมีความหมาย สอดคล้องเหมาะสมกับวัย โดยไม่แยกว่าต้องอ่านก่อน หรือเขียนก่อน
แต่จะเน้นให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง เช่น อ่านนิทาน เล่าเรื่องราว
ฟังนิทานที่ครูหรือเพื่อนเล่า เขียนคำที่ตนสนใจจากเรื่องที่ได้อ่านหรือได้ฟัง
ทักษะ EF คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน
"สมองส่วนหน้า" ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ
เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต
รู้จักการวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
สามารถยั้งคิด ไตร่ตรอง ควบคุมอารมณ์ได้ ยืดหยุ่นความคิดเป็น สามารถจัดลำดับความสำคัญในชีวิต
รวมทั้งรู้จักริเริ่มและลงมือทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่ ทุกคนต้องใช้และมีผลต่อความสำเร็จในชีวิต ทั้งการงาน
การเรียน และการใช้ชีวิต
กลุ่มทักษะ EF
ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มีเวิร์กกิ้ง เมมโมรีดี
ไอคิวก็จะดีด้วย
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory
Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก"
อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive
Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง
ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว
และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง
รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว
ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning
and Organizing) คือทักษะการทำงาน
ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม
ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed
Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย
เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ
ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ
เพลงเด็ก
การประเมิน
การประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน
การประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและมีความกระตืนรือร้นในการเรียน
การประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและอธิบายรายละเอียดรายวิชาได้อย่างครบถ้วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น