วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย



วัน จันทร์  ที่ 22 เดือน มกราคม  ปี  2561  เวลาเรียน  8:30 - 11:30น.

  




เนื้อหาที่เรียน
      การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนการสอนแบบการอภิปรายโดยให้แต่ละกลุ่มที่ได้รับผิดชอบงาน นำเสนอรายละเอียดที่ตนได้ไปศึกษามาและทุกคนในห้องเรียนช่วยกันวิเคราะห์ถึงประเด็นต่างๆโดยอาจารย์คอยให้คำแนะนำเป็นลำดับขั้นตอน มีประเด็นการนำเสนอดังนี้
1.พัฒนาการและคุณลักษณะตามวัยของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยปี2560
        พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ (maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น
พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
1. พัฒนาการด้านร่างกาย
2. พัฒนาการด้านสติปัญญา
3. พัฒนาการด้านอารมณ์
4. พัฒนาการด้านสังคม
ตามที่หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยปี2560 ได้มีการแบ่งโครงสร้างหลักสูตรออกเป็น2 ช่วงอายุ คือหลักสูตรสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า3ปี จัดขึ้นสำหรับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดู หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กประกอบด้วย 2ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุแรกเกิด-2ปี เป็นแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน และช่วงอายุ 2-3ปี เป็นแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ ให้เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยแข็งแรงและมีสุขภาพดี สุขภาพจิตดี มีความสุข มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสาร สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3-6ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของเด็กแต่ละคน
     "หลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรแกนกลาง ที่มีความยืดหยุ่น สถานศึกษา หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ทุกสังกัดสามารถนำไปปรับปรุงให้เหมาะกับเด็กและสภาพท้องถิ่นได้ โดยมีจุดเน้นสำคัญคือ การเรียนรู้แบบactive learning ของเด็กโดยการลงมือกระทำ มีการบูรณาการผ่านการเล่น มีเป้าหมายคือ เป็นคนดี มีวินัย มีปัญญา มีความสุข"
ข้อแตกต่างหลักสูตรเก่า 2546 และหลักสูตรใหม่ 2560
จุดเด่น
-          เพิ่มเติมวิสัยทัศน์ ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
-           เพิ่มเติมตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์รายอายุ"เพื่อให้มีเนื้อหาที่ชัดเจน สถานศึกษาสามารถนำไปออกแบบ และจัดหลักสูตรสถานศึกษาของตนเอง ครูสามารถนำไปวางแผนการพัฒนาผู้เรียนรายอายุได้ง่ายขึ้น
-          ด้านร่างกาย โดยเพิ่มการพัฒนาการตระหนักรู้ เกี่ยวกับร่างกายตนเอง (self-awareness) คือการเคลื่อนไหวโดยควบคุมตนเองไปในทิศทางระดับและพื้นที่,
-          ด้านอารมณ์จิตใจ เพิ่มอัตลักษณ์เฉพาะตน และเชื่อว่าตนเองมีความสามารถและการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น,
-          ด้านสังคม เพิ่มการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่น และความเป็นไทย การมีวินัย การยอมรับในความเหมือนและแตกต่าง ระหว่างบุคคล
-          ด้านสติปัญญา เพิ่มการพัฒนาความสามารถในการคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การคิดแก้ปัญหา และตัดสินใจการใช้ภาษาในการเรียนรู้
2.ความสนใจและความต้องการของเด็กปฐมวัย
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยมีความต้องการตามวัย อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเอง โดยการได้ทดลอง จับสัมผัสอยู่เสมอ ดังนั้นครูจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนโดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
3.การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
  

4.รูปแบบการเรียนรู้นวัตกรรมการสอนแบบโครงการ 
















ผลการประเมิน
การประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน
การประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลาและมีการเตรียมตัวพร้อมสำหรับการนำเสนอเนื้อหาต่างๆที่รับผิดชอบ

การประเมินอาจารย์
 วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและคอยให้คำอธิบายรายละเอียดต่างๆที่เรียนให้กับนักศึกษาทำให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะการคิดต่างๆเช่นการคิดแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Record 16 Learning Experiences Management in Early Childhood Education

Monday 23    April  2018  8:30 AM - 11:30 AM เรียนชดเชยในวันที่ 1พฤษภาคม 2561 แทนวันที่ 23 เมษายน 2560 อาจารย์สรุปเนื้อหาที่เรียนมา...