วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Record 5 Learning Experiences Management in Early Childhood Education



Monday 12 February  2018  8:30 AM - 11:30 AM


การเรียนรู้แบบ Story line เป็นการสอนวิธีหนึ่งที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจริง ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ไตร่ตรอง การแก้ปัญหา ตลอดจนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งดีสิ่งที่เป็นประโยชน์
 วิธีสอนแบบ
Story line เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้
คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว
องค์ประกอบที่สำคัญของ Story Line
การสร้างเรื่องใน Story Line เป็นการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่อง ประดุจเส้นเชือก โดยมี คำถามหลักเป็นตัวดำเนินการ องค์ประกอบที่สำคัญในการสอนแบบ Story Line คือ
1. ตัวละคร หมายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ผูกขึ้นมา
2. ฉาก หมายถึง การระบุลักษณะของสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ ตามหัวเรื่อง
3. การดำเนินชีวิต หมายถึงการดำเนินชีวิตของตัวละคร ว่า ใครทำอะไรบ้าง
4. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถุงเหตุการณ์ที่ดำเนินชีวิตของละคร เช่น
เหตุการณ์อะไรที่เป็นปกติ เหตุการณ์อะไรที่ต้องแก้ไข เหตุการณ์อะไรที่ต้องดีใจ หรือแสดงความยินดี
ขั้นตอนการสอนแบบ
 Story Line
1.วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
2.กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
3.กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
5.กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด


การเรียนรู้แบบ Story line





การเรียนรู้แบบวอลดอร์ฟ




  การเรียนรู้แบบภาษาธรรมชาติ





ผลการประเมิน

การประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนโดยให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

การประเมินเพื่อน
เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลาและมีการเตรียมตัวในการนำเสนองานอย่างดี

การประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและคอยให้คำแนะนำที่ดีแก่นักศึกษา มีการยกตัวอย่างประกอบการสอนทำให้สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้มากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Record 4 Learning Experiences Management in Early Childhood Education


Monday 5 February  2018  8:30 AM - 11:30 AM



รูปแบบการสอนแบบมอนเตสเซอรี่
   หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสเซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถนั้น ควรจะต้องพัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการของเด็ก ที่ต้องการจะเป็นอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้ ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ และพิถีพิถัน การสอนแบบมอนเตสเซอรี่ ได้มาจากการที่มอนเตสเซอรี่ได้สังเกตเด็กในสภาพที่เป็นจริงของเด็ก ไม่ใช่สภาพที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเป็น










1.การเรียนแบบมอนเตสเซอรี่เด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
มอนเตสเซอรี่เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตนเอง และการซึมซาบการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จะทำให้เด็กได้ในสิ่งที่ต้องการจากการเรียนรู้ เด็กจะได้รับเสรีภาพในขอบเขตที่จำกัด จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้ให้ และจะทำให้เด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเขา
เด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจากการที่เด็กมีอิสระในสิ่งแวดล้อมที่จัดเตรียมไว้อย่างสมบรูณ์
2.การเรียนแบบมอนเตสเซอรี่เป็นการเรียนรวมโดยไม่จำกัดอายุของเด็กคือ เด็ก4 ขวบ เรียนพร้อมกับเด็ก6ขวบ เรียนรู้ไปด้วยกัน

3.สื่อและอุปกรณ์เป็นหัวใจสำคัญของการสอนแบบมอนเตสเซอรี่
อุปกรณ์การเรียนได้วางรูปแบบเอาไว้ให้เด็กได้ทำงานต่างๆ เป็นไปตามขั้นตอน งานจะกระตุ้นทำให้เด็กทำงานต่อไป การเขียนก็เป็นจุดรวมของทั้งการเห็น การได้ยินและการสัมผัส การแสดงออกทางการเขียนจะผ่านขั้นตอนต่างๆ จากการสัมผัสรูปทรงเลขาคณิตสัมผัสรูปพยัญชนะ สระ จากบัตรตัวอักษรกระดาษทราย  ในการทำงาน ครูจะต้องคอยสังเกตว่าเด็กพร้อมที่จะเรียนอุปกรณ์ในขั้นต่อไปหรือยังตามลำดับยากง่าย หรือตามที่นักเรียนร้องขอ การแสดงอุปกรณ์มี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นที่ เชื่อมโยงการรับรู้ทางประสาทสัมผัสกับชื่อ …. " นี่คือ แขนงไม้ "
ขั้นที่ รู้จักชื่อของสิ่งของ … " หยิบแขนงไม้มาให้ครูซิ "
ขั้นที่ จำชื่อได้สอดคล้องกับอุปกรณ์ … " นี่คือ อะไร "




รูปแบบการสอนแบบไฮสโคป


























การประเมิน
การประเมินตนเอง

การประเมินเพื่อน


การประเมินอาจารย์

Record 3 Learning Experiences Management in Early Childhood Education



Monday 29 January 2018, 8:30 AM - 11:30 AM


ทบทวนพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด12มาตรฐาน
1.พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน
มาตรฐานที่ 1ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
มาตรฐานที่ 2กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
2.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย 3 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 3มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะดนตรี และการเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม
3.พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย 3 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม และความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 8อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย 4 มาตรฐานคือ
มาตรฐานที่ 9ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ 10มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 11มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้าการเคลื่อนไหว การมอง
การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7ปี 3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิด
ของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ 4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและ
ความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1.      การซึมซับหรือการดูดซึม เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2.      การปรับและจัดระบบคือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือ
เครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.      การเกิดความสมดุล เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับหากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อ
ให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้นหากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิม
ให้เข้ากันได้ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล


อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5 คน แล้วช่วยการเขียนแผนการสอนในหน่วยต่างๆ








































การประเมิน

การประเมินตนเอง
 จาการเรียนในวันนี้ทำให้สามารถเข้าใจทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ 
มากขึ้น
การประเมินเพื่อน
 เพื่อนๆตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป้นอย่างดี
การประเมินอาจารย์
 อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวันนี้ได้อย่างละเอียด
พร้อมกับมีการยกตัวอย่างประกอบทำให้เข้าใจและเห็นภาพเกี่ยวกับการนำทฤษฎีไป
ปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม
















Record 16 Learning Experiences Management in Early Childhood Education

Monday 23    April  2018  8:30 AM - 11:30 AM เรียนชดเชยในวันที่ 1พฤษภาคม 2561 แทนวันที่ 23 เมษายน 2560 อาจารย์สรุปเนื้อหาที่เรียนมา...